เครื่องมือช่าง “หมวดค้อน”
(HAMMER)
ถ้าผมจะให้คำนิยามของค้อน
ว่า “ค้อน คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับทุบหรือตอกลงบนวัตถุอื่นๆ”
ท่านผู้อ่านคงสงสัยใช่ไหมครับ ว่าทำไม ผมถึงไม่บอกว่า “ค้อน คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตอกตะปูลงบนเนื้อไม้” ที่ผมกล่าวเช่นนี้ เป็นเพราะประโยชน์ของค้อนไม่ได้มีแค่ไว้ตอกตะปูน่ะสิครับ
ท่านผู้อ่านลองคิดดูดีๆ นอกจากเราจะใช้ค้อนในการตอกตะปูแล้ว
เรายังใช้ค้อนในการจัดแต่งชิ้นส่วนที่มันไม่เข้าที่เข้าทาง
ให้มันดูเป็นระเบียบมากขึ้น และยังใช้ค้อนในการทุบและทำลายสิ่งต่างๆอีกด้วยนะครับ
แล้วอย่างนี้ จะให้บอกว่าค้อนมีหน้าที่ตอกตะปูอย่างเดียวก็คงจะไม่ได้
ท่านผู้อ่านคงเห็นด้วยกับผมใช่ไหมครับ
อย่างที่ผมกล่าวไว้ข้างต้นล่ะครับ
เจ้าค้อนเนี่ย เค้ามีประโยชน์มากกว่าใช้ทุบหรือตอกตะปู เค้าจึงแบ่งค้อนออกเป็นหลายๆชนิดตามรูปร่างและลักษณะที่ใช้งานครับ
ตัวอย่างเช่น
1.
ค้อนหงอน (Hammer tool) – เป็นค้อนที่ใช้สำหรับตอก
ส่วนหัวของค้อนหงอนสามารถใช้ถอนตะปูได้ด้วยครับ นอกจากนี้
เรายังใช้ค้อนหงอนในการตอกสิ่วและตอกไม้เวลาทำโครงร่าง
2.
ค้อนหัวกลม (Ball Peen Hammer) – เป็นค้อนที่คนนิยมใช้กันมากที่สุดครับ ลักษณะทั่วไปของค้อนหัวกลมจะมีหน้าเรียบ
สามารถใช้งานได้ทั้งสองหน้า เราจะใช้ค้อนหัวกลมในงานเคาะ
ขึ้นรูป และย้ำหมุดทั่วไปครับ
3.
ค้อนไม้ (Mallet) - เป็นค้อนที่ทำจากเนื้อไม้แข็ง จึงทำให้มีความยืดหยุ่นดีกว่าเหล็ก
เมื่อใช้เคาะชิ้นส่วนใดๆจึงไม่เกิดความเสียหายหรือเกิดความเสียหายน้อยมากครับ
4.
ค้อนสำหรับนักธรณีวิทยา
(Geological hammer) – ซึ่งถือเป็นอาวุธประจำตัวของนักธรณี
เนื่องจากเวลานักธรณีจะเก็บตัวอย่างหินกลับไปศึกษา จะต้องใช้ค้อนทุบให้เศษหินแตก
ดังนั้นค้อนธรณีจึงต้องทำจากเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงและทนทานมาก ลักษณะของหัวค้อนธรณี
ก็จะมีด้านหนึ่งทู่เพื่อไว้ทุบ และอีกด้านหนึ่งของหัวค้อนจะแบนและแหลมเพื่อใช้ขุด
ถาก งัด หรือเจาะ
5.
ค้อนเดินสายไฟ (Electrician Hammer) – ส่วนใหญ่จะใช้กับงานไฟฟ้าครับ หัวค้อนทำด้วยเหล็ก
มีปลายด้านหนึ่งหน้าเรียบตรง และอีกด้านหนึ่งแบนแหลม สามารถใช้ตอกในที่แคบได้
นอกจากนี้เรายังใช้ค้อนเดินสายไฟกับการตอกตะปูเฟอร์นิเจอร์เล็กๆด้วยครับ
6.
ค้อนยาง (Rubber Hammer) –
ค้อนยางใช้สำหรับตอกเพื่อรักษาสภาพผิวงาน เช่น
ใช้ในการตอกหรือเคาะก้อนบล็อกให้ได้แนวและระดับครับ
7.
ค้อนพลาสติก (Plastic Hammer) –
ใช้ตอกเพื่อรักษาสภาพผิวงานเช่นเดียวกับค้อนยาง
เพียงแต่ว่า หัวค้อนจะสามารถถอดเปลี่ยนได้และยังมีน้ำหนักในการเคาะชิ้นงานได้มากกว่าค้อนยางอีกด้วยครับ
8.
ค้อนปอนด์ (Heavy Hammer) – เราจะใช้ค้อนปอนด์ในการตอกเสาหลัก
หรือการตีเหล็กครับ
แต่ถ้าจะให้แบ่งตามวัสดุที่นำมาผลิตเป็นค้อน
ก็คงแบ่งได้เป็น3ประเภทใหญ่ๆครับ คือ
1.
ค้อนหัวแข็ง –
ซึ่งค้อนประเภทนี้ หัวค้อนจะถูกทำขึ้นจากวัสดุที่แข็งแรงมาก เช่นพวกเหล็กกล้า
ที่นำมาตีขึ้นรูปครับ
2.
ค้อนหัวแข็งปานกลาง
– หัวค้อนก็จะถูกทำมาจากวัสดุที่มีความแข็งพอประมาณ เช่น ทองแดง หรือพลาสติก
3.
ค้อนหัวอ่อน –
ค้อนประเภทนี้ หัวค้อนจะถูกทำมาจากวัสดุที่มีความหยุ่นในตัวเองครับ เช่น
ยางไม้เนื้ออ่อน เป็นต้น
หากท่านผู้อ่านต้องการจะใช้ค้อนในงานปกติทั่วไป
ผมขอแนะนำค้อนที่มีน้ำหนักประมาณ 2 ออนซ์ ถึง 3 ปอนด์ด้าม
ด้ามค้อนจะต้องทำจากไม้เนื้อแข็งคุณภาพดี ที่ผ่านการเหลาขึ้นรูป
ให้มีรูปทรงที่จับกระชับกับอุ้งมือและต้องมีความยาวพอเหมาะในการเหวี่ยงค้อนด้วยครับ
สำหรับท่านผู้อ่านท่านใด
ที่มองว่าการใช้ค้อนเป็นเรื่องง่าย บางที ท่านอาจจะต้องเปลี่ยนความคิดแล้วล่ะครับ
ท่านผู้อ่านทราบไหมครับ ว่าอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้ค้อนที่มีมากที่สุดคืออะไร ??????
อุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้ค้อนที่มีมากที่สุด
คือการที่หัวค้อนหลุดกระเด็นออกมาจากด้ามค้อน!!!!! หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องตลก แต่ท่านผู้อ่านลองคิดดูสิครับ
ถ้าวันหนึ่งท่านกำลังทำอะไรสักอย่างอยู่
แล้วจู่ๆก็มีวัตถุแข็งๆลอยละลิ่วมากระทบกับศีรษะท่าน!!!* ตลกไม่ออกเลยสิครับ
วิธีป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากค้อน ก็ง่ายๆ แค่ศึกษาวิธีการใช้ค้อนให้ถูกวิธี
และรู้จักดูแลรักษาค้อนอย่างสม่ำเสมอ
สำหรับเคล็ดลับง่ายๆในการใช้และดูและรักษาค้อน
มีดังนี้ครับ
1.
เลือกชนิดของค้อนให้เหมาะกับการใช้งาน
บางคนอาจมองว่า ไม่สำคัญ แต่ข้อนี้สำคัญนะครับ เพราะถ้าหากเราเลือกค้อนที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน
อาจมีสะเก็ด หรือเศษของชิ้นส่วนกระเด็น ทำให้เกิดอันตรายได้นะครับ
2.
เลือกค้อนที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของหน้าค้อนใหญ่กว่าพื้นผิวของส่วนที่จะตอกหรือทุบประมาณ1นิ้ว
(2.54 ซ.ม.)
3.
ใช้ค้อนตอกหรือทุบให้หน้าค้อนและพื้นผิวที่ถูกตอกแนบสนิทเป็นแนวขนาน
ระวังอย่าให้หัวค้อนเผยอ และไม่ควรให้หน้าค้อนมีช่องว่างขณะตอกครับ
4.
ขณะที่จับด้ามค้อน
ควรจับด้วยข้อมือที่ตรงและกระชับกับด้ามค้อนค่อนไปทางปลายค้อน
5.
ไม่ควรใช้ค้อนที่หลวม
หรือชำรุด เพราะจะเป็นอันตรายกับผู้ใช้เองและคนรอบข้างด้วยนะครับ
ถ้าท่านผู้อ่านสังเกต ที่กลางหัวค้อนจะมีรูเจาะเพื่อยึดหัวค้อนให้ติดกับตัวด้าม โดยจะมีลิ่มตอกที่กลางด้ามค้อนบริเวณส่วนหัว
หากเห็นว่าค้อนเริ่มหลวม
ให้ตอกลิ่มตัวนี้เข้าไปเพื่อเพิ่มแรงอัดระหว่างหัวค้อนกับด้ามค้อน จะทำให้การจับยึดแน่นหนาขึ้นครับ
6.
ห้ามแต่ง เจียร
เชื่อม หรือให้ความร้อนกับหัวค้อนโดยเด็ดขาด!!!
แค่ 6 ข้อง่ายๆ คงไม่ยากเกินไป
จริงไหมครับท่านผู้อ่าน |